เตรียมตัวรับมือน้ำท่วม ก่อนน้ำมาถึงพื้นที่

เตรียมตัวรับมือน้ำท่วม ก่อนน้ำมาถึงพื้นที่

หากเรารู้เป็นแน่แท้ว่าน้ำจะท่วมมาถึง เราจะทำอย่างไรดีหละ มาเราเอาการ "เตรียมตัวรับมือน้ำท่วม ก่อนน้ำมาถึงพื้นที่" มาฝาก

เตรียมตัวรับมือน้ำท่วม ก่อนน้ำมาถึงพื้นที่
เตรียมตัวรับมือน้ำท่วม ก่อนน้ำมาถึงพื้นที่

วิธีปฏิบัติก่อนน้ำท่วม
- พยายามเก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเสียหายจากความน้ำ บรรจุใส่ลังบรรจุสัมภาระที่ทำจากพลาสติก หรือบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (ถุงดำ) บรรจุลงลังกระดาษ แล้วนำขึ้นไปเก็บไว้บนที่สูง ๆ ที่สามารถทำได้
- ย้ายปลั๊กไฟและสวิทซ์ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับต่ำ โดยมากจะอยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตรจากพื้นอาคาร ให้สูงขึ้นไปอยู่ ในระดับ 1.20 เซนติเมตร แยกเบรกเกอร์ออกเป็นชั้น ๆ ไป เพื่อความสะดวก ในการตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วม
- ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้อยู่ในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
- สำรวจช่องเปิดที่คาดว่าบรรดาสัตว์ที่มีอันตรายต่าง ๆ อาจจะสามารถเล็ดลอดเข้ามาทำอันตรายได้ และทำการปิดช่องเปิดนั้น เพื่อระวังป้องกันอันตราย
- สำรวจรอยแตกร้าว รอยแยก บริเวณรอบตัวบ้าน หากพบจุดที่คาดว่าน้ำอาจซึมเข้ามาได้ ให้ใช้วัสดุยาแนวหรือซิลิโคลนฉีดอัดบริเวณรอยแตกร้าวภายนอก เพื่อลดการซึมเข้ามาของน้ำ
- ให้จัดเตรียมกระสอบทราย ทำเป็นกำแพงกันน้ำ บริเวณทางเข้าออกของบ้าน และประตูห้องน้ำเนื่องจากห้องน้ำจะมีระบบท่อน้ำทิ้งซึ่งน้ำจากภายนอกจะขึ้นมาจากระบบท่อเหล่านั้น
- หากไม่สามารถหากระสอบทรายได้ สามารถใช้วิธีก่อผนังฉาบปูนทำผิวขัดมันแทนการใช้กระสอบทรายก็ได้
- จัดเตรียมภาชนะสำหรับเก็บของเสียจากการขับถ่าย ไม่ควรขับถ่ายลงระบบส้วมเดิม เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มสิ่งสรกปกลงไปในน้ำ
- จัดเตรียมภาชนะบรรจุน้ำสะอาดไว้สำหรับบริโภค ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ หรือจัดหาเครื่องกรองน้ำมาติดตั้ง เพราะเมื่อน้ำท่วมเราไม่ควรใช้น้ำประปามาบริโภค เนื่องจากอาจจะมีสิ่งสรกปกปะปนมากับน้ำปะปา
- จัดเตรียมเวชภัณฑ์ และอาหารสำเร็จรูปที่สามารถรจัดเตรียมได้ง่าย เช่น อาหารกระป๋อง เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วม อาจจำเป็นต้องมีการตัดกระแสไฟ และไม่สามารถหุงหาอาหารได้

ของที่ต้องเตรียมสำหรับภาวะฉุกเฉิน
- น้ำ1 แกลลอน (3.8 ลิตร) / 1 คน/ 1 วัน สำหรับใช้อย่างน้อย 3 วัน สำหรับทั้งดื่มและทำความสะอาด
- อาหารที่ไม่เสียหรือบูด อย่างน้อย 3 วัน
- วิทยุที่ใช้ถ่าน (แบตเตอรี่)
- ไฟฉายและถ่าน (แบตเตอรี่) สำรอง
- ยาสามัญประจำบ้าน
- นกหวีด (เพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ)
- หน้ากากกันฝุ่น สำหรับป้องกันอากาศที่ปนเปื้อน
- แผ่นพลาสติก และเทปผ้า สำรับทำที่พัก
- ทิชชู่เปียก
- ถุงพลาสติกและที่มัดสำหรับอุจจาระ/ ปัสสาวะ
- ประแจ คีม
- ที่เปิดกระป๋อง
- แผนที่ของพื้นที่
- โทรศัพท์มือถือและที่ชาร์จ

ของที่ควรเพิ่ม
- ยาและแว่นตา
- อาหารเด็กและผ้าอ้อม
- เอกสารสำคัญของครอบครัว เช่น สำเนาประกัน บัตรประจำตัว เอกสารธนาคาร ทั้งหมดเก็บในกล่อง หรือภาชนะที่กันน้ำและเคลื่อนย้ายได้
- เงินสด หรือเช็ค
- ถุงนอนหรือผ้าห่ม สำหรับแต่ละคน
- เสื้อผ้า รวมถึงเสื้อและกางเกงแขนยาว และรองเท้าที่สมบุกสมบัน
- น้ำยาซักผ้าขาว (household bleach หรือ Clorox -โซเดียม ไฮโปคลอไรต์) ในน้ำ 9 ส่วน ต่อน้ำยาซักผ้าขาว 1 ส่วน น้ำยาซักผ้าขาวจะเป็นตัวฆ่าเชื้อโรดได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำด้วย) อย่าใช้น้ำยาซักผ้าขาวที่ใช้ กลิ่น ที่ไม่ทำให้สีตก หรือที่เพิ่ม cleaners
- ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ก ที่เก็บอยู่ในกล่องหรือที่ใส่ที่กันน้ำ
- ของใช้ของผู้หญิง
- แก้วกระดาษ อุปกรณ์จาน และช้อนส้อมพลาสติก กระดาษทิชชู น้ำยาล้าง/ทำความสะอาด

ที่มา : 1. มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
           2. kaemgame

ความคิดเห็น